แผ่นดินที่ปราศจากความชั่วร้าย

บทนำ

เมื่อต้นปี 2001ชายชาวกะเหรี่ยงสามคน มอ ทิ อี, มอ อี และปาลา เส กำลังทำงานของ พวกเขาอยู่ในหมู่บ้าน ในขณะนั้น ก็มีกองทหารพม่าเข้ามาและกล่าวหาพวกเขาว่าให้การสนับสนุน ชาวกะเหรี่ยงที่เป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาล พวกทหารยิงชายทั้งสามทิ้ง พวกเขาถูกฝังโดยให้เหลือแต่ ส่วนหัวโผล่พ้นจากดินตรงทางเข้าของหมู่บ้าน พวกชาวบ้านถูกสั่งเตือนให้ทิ้งศพไว้เช่นนั้น เพื่อเป็น การเตือนคนอื่นๆ และถ้าใครฝ่าฝืนไปแตะต้องศพ จะได้รับชะตากรรมเดียวกัน

ชื่อของหนังสือเล่มนี้คือ ดินแดนที่ปราศจากความชั่วร้าย มันเป็นชื่อที่ขัดแย้งกับความเป็น จริง แต่ก็เป็นชื่อที่ให้ความหวังและแรงบันดาลใจด้วยเช่นเดียวกัน

ที่ว่าชื่อหนังสือขัดแย้งกับความเป็นจริง เนื่องจากในปัจจุบันนี้ รัฐกะเหรี่ยงในประเทศพม่า ถูกฉีกออกเป็นชิ้นๆ ด้วยความชั่วร้ายเลวทราม แผ่นดินถูกควบคุมโดยรัฐบาลเผด็จการทหารที่เข้า มายึดอำนาจโดยการบีบบังคับ ไม่สนใจเสียงของประชาชนที่มาจากการเลีอกตั้ง รัฐบาลนี้ยืนอยู่ได้ ด้วยการสร้างบรรยากาศแห่งความน่าสะพรึงกลัว เป็นแผ่นดินที่รัฐบาลเผด็จการทหารข่มขู่ประชา ชน เป็นที่ๆ รัฐบาลก่ออาชญากรรมทุกรูปแบบต่อประชาชน รัฐบาลเผด็จการทหารบังคับใช้แรง งานประชาชน กำจัดทุ่นระเบิดโดยการใช้ชาวบ้านเป็นเครื่องเหยียบหาทุ่นระเบิด ลักพาตัวเด็ก และบังคับให้เป็นทหาร ข่มขืนหญิงชนกลุ่มน้อยเป็นงานประจำ เผาทำลายหมู่บ้านและพืชผล รัฐบาลเผด็จการทหารนี่เอง ได้ฆ่าคนนับหมื่นนับพันในพื้นที่ของชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะชาว กะเหรี่ยง กะเหรี่ยงนี ฉาน อีกทั้งยังสังหารนักศึกษาพม่าจำนวนนับพัน ทำให้ประชาชนกว่าหนึ่ง ล้านคนกลายเป็นคนพลัดถิ่น ต้องอาศัยอยู่ในป่าทางด้านตะวันออกของพม่า และอาจจะมีผู้พลัด ถิ่นมากถึงสองล้านคนทั่วทั้งประเทศ มีผู้อพยพลี้ภัยนับแสนที่ข้ามชายแดนมายังประเทศไทย อินเดีย และบังคลาเทศ และทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่เรียกว่า “การตัดทั้งสี่” ที่รัฐบาลเผด็จการนำมาใช้ตั้งแต่ปี1970 รัฐบาลเผด็จการต้องการที่จะตัดกำลังของฝ่ายต่อต้าน รัฐบาล ทั้งทางด้าน อาหาร ทุนรอน ข่าวสาร และกำลังทหาร กลยุทธ์ที่นำมาใช้ก็คือการบั่นทอน ฝ่ายต่อต้าน โดยการทำลายชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนพลเรือน

นักการเมืองอาจจะเรียกการกระทำเช่นนี้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ในทางศาสนา และจริยะธรรม คำว่า “ชั่วร้าย เลวทราม” เป็นคำที่เหมาะสมกว่า และนี่คือตัวอย่าง ในเดือนมีนาคม 1990 หัวหน้าหน่วยกองทหารราบกองพันที่ 8 ของพม่า นายโซว วิน ได้เข้าไปยึดฝูงวัวจากหมู่บ้าน ชาวกะเหรี่ยงซึ่งมีมูลค่า 350,000จั๊ด และหมูมูลค่า 50,000 จั๊ด ทหารของนายโซว วิน ได้ยิงและ ฆ่าหญิงอายุ 50 ปี ในหมู่บ้านเธ เค กิ จากนั้นก็ฆ่าลูกชายของเธอ พวกทหารได้แหวะร่างกายของ ลูกชายออกเพื่อที่จะล้วงตับและหัวใจออกมากิน ถ้าสิ่งนี้ไม่เรียกว่าชั่วช้าต่ำทรามแล้วเราจะเรียกมัน ว่าอะไร และอีกเหตุการณ์หนึ่ง เด็กหญิงอายุ 15 ปีกำลังเดินอยู่กับพ่อของเธอ ทหารพม่าได้ปรากฎ ตัวขึึ้นและยิงพ่อของเธอจนเสียชีวิต จากนั้นก็ข่มขืนเด็กหญิง ทหารพม่าเอากระบอกปืนใส่เข้าไปใน อวัยวะเพศของเด็กหญิง แล้วลั่นไกจนเด็กหญิงถึงแก่ความตาย ส่ิงนี้ไม่ใช่อาชญากรรมปกติธรรม ดา แต่มันเป็นอาชญากรรมที่ต่ำช้าสกปรก ชายคนที่เล่าให้ผมฟังถามผมว่า“ถ้ามันไม่ใช่ความชั่ว ร้ายเลวทราม แล้วมันคืออะไร”

นอกจากการสังหารและทรมาณคนนับหมื่นนับพัน รัฐบาลเผด็จการทหาร หรือเป็นที่รู้จักกัน ในอีกชื่อหนึ่งคือ The State Peace and Development Council (SPDC) ก็ยังเกี่ยวพัน อย่างลึกซึ้งกับการค้ายาเสพติดและทำให้พม่าเป็นผู้ผลิตฝิ่นรายใหญ่ที่สุดในโลก ตามที่ นายคริส- เตียน กู๊ดเดน เขียนไว้ในหนังสือ “เจดีย์สามองค์” สามเหลี่ยมทองคำ สถานที่ๆ มีชื่อเสียงในทาง ลบนั้น มีพื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่ในพม่า ได้มีการผลิตฝ่ินจำนวน 2,000 ตันต่อปี ซึ่งเทียบเท่ากับเฮโรอีน บริสุทธิ์ 200 ตัน และยาแอมเฟตามีนจำนวนนับล้านๆ เม็ด มีการอ้างว่า 80%เปอร์เซ็นของยาเสพ ติดในออสเตรเลีย และอาจจะมากกว่า 60% ของเฮโรอินในสหรัฐอเมริกานั้นมาจากพม่า มีการประ มาณการว่าพม่าได้ขายยาแอมเฟตามีนจำนวนหนึ่งล้านล้านเม็ดในปี 2002 และในปี 2004 นั้นยา ประมาณ 900,000,000 – 100,000,000 เม็ด คิดมูลค่าเป็นเงิน 2 ล้านปอนด์สเตอริง จะถูก ส่งออกจาก พม่าผ่านมาทางชายแดนประเทศไทย ในช่วงเวลาหนึ่ง รัฐบาลเผด็จการทหารและขุนส่า เจ้าพ่อค้ายาเสพติดที่มีชื่อระดับโลกได้มีข้อขัดแย้งกัน แต่ในปี1996 ทั้งสองฝ่ายก็ได้ข้อตกลง ขุนส่า ได้ยกธุรกิจ ยาเสพติด, กองทหารส่วนตัว รวมถึงพันธมิตรกับThe United Wa State Army (UWSA) ให้กับ SPDC เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนที่ SPDC จะปล่อยให้ขุนส่าเกษียณอายุ อย่างสงบในคฤหาสน์ที่ย่างกุ้ง และปลอดภัยจากการถูกส่งตัวไปพิพากษาในประเทศสหรัฐอเมริกา ข้อหาก่ออาชญากรรม ปัจจุบันรัฐบาลเผด็จการทหารได้ใช้ UWSA ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของผู้ค้า ยาที่ใหญ่ที่สุด นำ โดย Pao U Chang และผู้บังคับบัญชากองพลทางใต้ของ UWSA นาย Wei Siaogang ซึ่งที่นี่เป็นพื้นที่ของแม่ทัพที่มีอำนาจสูงสุด ต่อสู้กับกลุ่มต่อต้านชาวรัฐฉาน ได้มี การพักรบชั่วคราวกับแม่ทัพ Lo Hsing-han ในปี 1987 และในปัจจุบัน ตามคำบอกเล่าของ นายพัน Yawd Serk ซึ่งเป็นหัวหน้าของกลุ่มต่อต้านรัฐฉาน แม่ทัพ Lo Hsing-han ประสบความสำเร็จร่ำรวย โดยการเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจกับนายพลชาวพม่า

ในขณะเดียวกัน ชาวกะเหรี่ยงได้ใช้นโยบายต่อต้านยาเสพติดที่เข้มงวด และได้ทำลายโรง งานผลิตยาแอมเฟตามีนหลายต่อหลายแห่งที่ตั้งอยู่แถบชายแดนไทย – พม่า “เราห้ามการปลูก

จำหน่าย และใช้ยาเสพติด” นี่เป็นคำกล่าวของประธานาธิบดีผูุ้ก่อตั้ง Karen National Union (KNU) และนายพลโบ มยะ บอกผมว่า “เรามีการจัดการที่รุนแรงกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด เราทำเช่นนี้เพื่อมนุษยชาติ” คนที่ถูกจับในข้อหาใช้ยา เป็นเจ้าของ หรือเกี่ยวพันกับยาเสพติดจะถูก ลงโทษขั้นรุนแรง เป็นที่รู้กันในหมู่ชาวกะเหรี่ยงว่าถึงขั้นประหารชีวิต อย่างไรก็ตาม ชาวกะเหรี่ยงไม่ ได้รับการช่วยเหลือใดๆ จากนานาประเทศในการทำสงครามกับยาเสพติด

พม่ายังเป็นประเทศที่กำลังเผชิญปัญหาโรคเอดส์อีกด้วย เศรษฐกิจของประเทศพังทลายลง ด้วยน้ำมือของรัฐบาลทหาร พม่าเคยเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชีย แต่บัดนี้ถูกจัดให้ เป็นหนึ่งในสิบของประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก ในเดือนธันวาคม ปี 1987 พม่าได้ทำเรื่องขอ และ ได้รับสถานะภาพประเทศด้อยพัฒนาที่สุด แม้กระนั้นรัฐบาลเผด็จการทหารยังคงใช้เงินเพียงแค่ 0.5เปอร์เซ็นของจีดีพี กับการศึกษาและสุขภาพ แต่ใช้เงิน 50 เปอร์เซ็นของจีดีพีกับการทหาร ได้มีการขยายกองกำลังทหารไปถึง 500,000 กอง และนายพลธ่าน ฉุ่ย หัวหน้ารัฐบาลได้รับ ตำแหน่งที่ห้าของ10 ผู้นำเผด็จการที่แย่ที่สุดในโลกที่ยังมีชีวิตอยู่

พม่าเป็นดินแดนของการข่มเหงทางศาสนา ในปี 2001โบสถ์จำนวน 50 แห่ง ในย่างกุ้งถูก สั่งปิด จากนั้นรัฐบาลทหารสร้างเจดีย์ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา US State Department ได้ จัดตำแหน่งให้เป็นหนึ่งในหกของประเทศที่ละเมิดเสรีภาพทางศาสนาที่แย่ที่สุด และที่น่าเศร้า มัน เป็นแผ่นดินที่เต็มไปด้วยความชั่วร้ายเลวทราม

ชื่อของหนังสือเล่มนี้เป็นความหวังและแรงบันดาลใจด้วยเช่นกัน ประชาชนที่อยู่ในพม่าต้อง การสันติภาพ อิสรภาพ และความยุติธรรม พวกเขาต่อสู้เพื่อสิ่งเหล่านี้ตั้งแต่ตอนที่ยังไม่ต้องขึ้นอยู่

กับใคร ชาวกะเหรื่ยงเป็นเผ่าที่มีการต่อสู้ที่ยาวนานที่สุด พวกเขาเป็นผู้ที่เสียสละมากที่สุดและเจ็บ ปวดมากที่สุด แต่นั่นก็คือความหวังของชาวกะเหรี่ยงและของตัวผมเอง ที่วันหนึ่งประเทศนี้จะเป็น แผ่นดินที่ปราศจากความชั่วร้ายอย่างแท้จริง

แผ่นดินที่ปราศจากความชั่วร้ายนั้น เป็นชื่อของดินแดนชาวกะเหรี่ยงด้วย “เคาธูไล” และ ความหมายอื่นๆ ของเคาธูไลก็คือ ดินแดนแห่งแสงสว่าง ดินแดนของดอกไม้ดำ สวนดอกไม้ แต่ แผ่นดินที่ปราศจากความชั่วร้ายเป็นชื่อที่สื่อความหมายได้ดีที่สุดสำหรับช่องว่างระหว่างความหวัง

ของพวกเขากับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ในแผ่นพับของ Karen National Union (KNU) ได้ใช้ ชื่อว่า “ชาวกะเหรี่ยงกับการต่อสู้เพื่ออิสระภาพ” และชื่อนี้ได้อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น

ชาวกะเหรี่ยงตั้งชื่อดินแดนของพวกเขาว่า “เคา ลาห” ซึ่งแปลว่าดินแดนสีเขียว เราได้เริ่มเข้ามา เตรียมพื้นที่ ขุดพรวนดินแดนแห่งนี้ด้วยความสงบสุข แผ่นดินนี้อุดมสมบูรณ์ และปลอดจากอุปสรรคทั้ง ปวง ส่ิงที่เราลงแรงไปออกผลงอกงาม พวกเรามีความสุขกับผืนดินของเรา ดังนั้นเราจึงเปลี่ยนชื่อที่นี่ว่า เคาธูไล ดินแดนที่ ปราศจากความชั่วร้าย การกันดาร ความทุกข์ และการต่อสู้ เคาธูไล แผ่นดินที่อุดม สมบูรณ์และสงบสุข เราเคยอยู่ที่นี่กันอย่างเรียบง่าย และสงบสุข จนกระทั่งพม่าได้เข้ามา

หนังสือเล่มนี้เขียนเกี่ยวกับชาวกะเหรี่ยงและการต่อสู้ของพวกเขา แต่ก็เจตนาที่จะสะท้อน ให้เห็นว่าประชาชนในพม่าทั่วประเทศกำลังต่อสู้ด้วยเช่นเดียวกัน ชนเผ่าอื่นๆ เช่น ชิน คะฉิ่น ฉาน กะเหรี่ยงนี อาราข่านและม้ง กำลังต่อสู้เพื่อสันติภาพ และทนทุกข์กับความทารุณโหดร้ายเช่นเดียว กัน แม้แต่ประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นชาวเบอรมันเอง นำโดยนางออง ซาน ซูจี ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบล ก็ได้อุทิศตนอย่างมาก เพื่อการรณรงค์เรียกร้องประชาธิปไตย นางออง ซาน ซู จีเป็นสัญลักษณ์ของ การต่อสู้ และได้เสียสละอิสรภาพของเธอเองเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ ในปี 1989 เธอได้เดินผ่านแถวทหารที่จ่อปีนมาที่เธอด้วยรอยยิ้ม และ นั่นคือสัญลักษณ์ของการต่อสู้โดยไม่ใช้ กำลัง เธอชนะใจทุกคนที่รักความยุติธรรม และเธอได้กล่าวว่า “ทุกข์ของพี่น้องชาวกะเหรี่ยงนั้น เปรียบเหมือนทุกข์ของพวกเราเอง”

พม่ามีประชากรเกือบ 50 ล้านคน และมีภาษาพูดที่แตกต่างกันมากกว่าร้อยภาษา นายพอล สตัมฟ์ หลานชายของนายซอ บา ยู กยี ซึ่งเป็นผู้นำคนแรกของฝ่ายต่อต้านชาว กะเหรี่ยงกล่าวว่า “ พม่าคือการถักทอของหลายชนชาติ หลายศาสนา และต่างวัฒนธรรม SPDC ได้เปลี่ยนชื่อที่ เป็นทางการของพม่า เป็นเมียนม่า แต่ผมจะคงใช้ชื่อพม่าในหนังสือเล่มนี้ ผู้ที่ต้องการประชาธิปไตย และอิสรภาพในประเทศพม่าเลือกที่จะใช้ชื่อนี้ เพราะชื่อถูกเปลี่ยนด้วยรัฐบาลที่ไม่ถูกต้องตามกฎ หมาย และปราศจากความเห็นชอบของประชาชน นางออง ซาน ซูจี และชาวกะเหรี่ยงได้แจ้งความ ปรารถนาที่จะให้ใช้ชื่อเดิมคือ “พม่า” เพื่อเป็นการต่อต้าน SPDC

เมื่อมาถึงตรงนี้ ส่ิงสำคัญที่จะต้องบอกก็คือ มีอยู่สองอย่างที่เกี่ยวกับสไตล์การเขียนหนังสือ เล่มนี้ คำว่า“เบอรมัน”(Burman) และ“คนพม่า”(Burmese) มักจะถูกใช้สลับกันไปมาโดยคนทั่ว ไป แต่จริงๆ แล้วมันมีความหมายเฉพาะตัว เบอรมันหมายถึงชนกลุ่มใหญ่ในพม่า แต่คำว่า คนพม่า หมายถึงประชาชนทุกคนในพม่า ผมจะใช้ทั้งสองคำนี้เพื่อสื่อถึงความหมายที่ควรจะเป็น สำหรับชื่อ เบอรมันหรือคนพม่าที่อยู่ในเครื่องหมายคำพูด ผมจะใช้ตามที่ผู้บอกเล่าใช้ นักเขียนหลายคนใช้คำ ว่าคนพม่าอย่างหลวมๆ โดยหมายถึงรัฐบาลทหาร ซึ่งทำให้ผู้อ่านเข้าใจไปว่าคนพม่าทั้งหมดกำลัง โจมตีชนกลุ่มน้อย ซึ่งนั่นก็ไม่เป็นความจริง ดังนั้นเวลาที่ผมกล่าวถึงรัฐบาลทหาร ผมจะไม่ใช้ คำว่า เบอรมันหรือพม่า แต่จะใช้คำว่า SPDC หรือ รัฐบาลเผด็จการทหาร และเมื่อผมจะเขียน ถึงกองทหาร ผมจะใช้คำว่ากองทหารพม่า หรือชื่อภาษาพม่าที่เรียกว่า ตั๊ดมาดอ (Tatmadaw)

ชาวกะเหรี่ยงตามมาด้วยชาวรัฐฉาน เป็นชนเผ่าที่ใหญ่ที่สุดในพม่า รองลงมาจากชาวเบอร มัน พวกเขาไม่ชอบถูกเรียกว่าเป็นชนกลุ่มน้อย เนื่องจากถ้ารวมกันพวกเขาเป็นส่วนใหญ่ของประ ชากรทั้งหมด จริงๆ แล้วถ้ารวมชนเผ่าอื่นๆเข้าไปด้วย พวกเขาจะเป็น 40 เปอร์เซ็นของประชากร ทั้งหมด และอาศัยอยู่ในพื้นที่ 60 เปอร์เซ็นของประเทศ และพวกเขาก็เป็นชนเผ่าแรกเริ่มดั้งเดิมที่ อาศัยอยู่ที่นั่น ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าประเทศพม่า

ในสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวญี่ปุ่นนับชาวกะเหรี่ยงได้ 4.5 ล้านคน ชาวกะเหรี่ยงคาดว่า ประชากรทั้งหมดมีอยู่ถึง10 –12 ล้านคน แต่ตัวเลขดังกล่าวดูเหมือนจะสูงเกินไป KNU คาดว่ามี อยู่ 7 ล้านคน แม้กระนั้นตัวเลขก็อาจจะสูงไป SPDC อ้างว่ามีชาวกะเหรี่ยง 2.5 แต่ดูเหมือนจะ เป็นจำนวนที่ต่ำเกินไป Operation World ได้ประมาณตัวเลขที่มีความเป็นไปได้คือ 4.8 ล้านคน อย่างไรก็ตาม ไม่มีการสำมะโนประชากรที่ถูกต้องเป็นทางการ ดังนั้นจึงยากที่จะทราบจำนวนประ ชากรที่แท้จริง

ไม่ว่าตัวเลขที่ถูกต้องจะมีจำนวนเท่าไหร่ก็ตาม กะเหรี่ยงมีประชากรมากกว่าประเทศเล็กๆ ที่เป็นอิสระหลายประเทศ พวกเขามีคุณลักษณะที่เป็นชาติ มีโครงสร้างของรัฐบาล ถึงแม้ว่าจะมี ประชากรจำนวนมากที่ลี้ภัยเข้ามาในประเทศไทย พวกเขามีภาษา ประวัตศาสตร์ กองทัพ และธง ชาติของตนเอง พวกเขาประกอบด้วยชนเผ่าต่างๆ ในชนเผ่ากะเหรี่ยงมีชนเผ่าย่อยอย่างน้อย 20 กลุ่ม นั่นรวมถึงเผ่าใหญ่สองเผ่าสกอ และโพ นอกจากนั้นก็ยังมีชนเผ่าอื่นๆ ที่ต่อสู้เพื่อจะ ได้มาซึ่งการปกครองตนเองอีก นั่นก็คือ กะเหรี่ยงนี หรือ กะเหรี่ยงแดง และปาโอ้ หรือปาดุง เป็น ตัวอย่าง แต่ชนเผ่ากะเหรี่ยงทั้งหมด ได้มีการต่อสู้เพื่อที่จะมีชีวิตรอดมานานกว่าครึ่งศตวรรษ การ ต่อสู้ของชาวกะเหรี่ยงได้รับตำแหน่งเป็นสงครามกลางเมืองที่ยาวที่สุดในประวัติศาสตร์

จุดเริ่มต้นของสงครามกลางเมืองนั้นเป็นเรื่องของการแบ่งแยกเชื้อชาติ และวัฒนธรรม ชาว กะเหรี่ยงได้รับความทุกข์ทรมาณอยู่ภายใต้น้ำมือของชาวพม่ามานานนับศตวรรษ และมันได้เปลี่ยน เป็นการต่อสู้ทางด้านการเมืองเพื่ออิสระภาพและการปกครองตนเองหลังสงครามโลกครัั้งที่สอง และ ฃในหลายทศวรรษที่ผ่านมา มันกลายเป็นการต่อสู้กับการปกครองที่กดขี่ทารุณโหดร้ายของ รัฐบาลเผด็จการทหาร ด้วยเหตุผลดังกล่าว แม้จะมีปัญหามากมายที่จะต้องได้รับการแก้ไขระหว่าง ชาวกะเหรี่ยงกับชาวพม่า แต่เราจะต้องเข้าใจด้วยว่าทั้งชาวพม่าและชาวกะเหรี่ยงกำลังเผชิญชะตา กรรมเดียวกัน แม้ทั้งสองฝ่ายจะไม่ไว้วางใจกัน แต่จากการต่อสู้กับสิ่งเดียวกัน คือ SPDC ทำให้ กำแพงบางส่วนที่กั้นพวกเขาอยู่ทลายลง ชาวกะเหรี่ยง ฉาน กะเหรี่ยงนี ชิน คะฉิ่น อาราข่าน ม้ง และชนเผ่าอื่นๆ ได้ร่วมหลักการเดียวกันกับกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยชาวพม่า (Burman Democracy movement) ชาวกะเหรี่ยงมิได้ต่อสู้เพื่อเอกราชอีกต่อไป แม้ว่าจิตใจของพวก เขาจะโหยหามันก็ตาม พวกเขารู้ว่ามันยากที่จะเป็นไปได้ แต่พวกเขากำลังเรียกร้องสิ่งที่เรียกว่า “การเจรจาสามฝ่าย” ระหว่าง SPDC , The Burman Democracy movement และชนเผ่า ต่างๆ เพื่อจะให้ได้มาซึ่งการหยุดยิงอย่างถาวร และโครงสร้างสำหรับสหพันธรัฐพม่า โดยที่ชาวกะ เหรี่ยงและชนเผ่าอื่นๆ จะมีการปกครองตนเองและมีสิทธิเท่าเทียมกัน

ชาวกะเหรี่ยงมักจะถูกเข้าใจว่าเป็นชนเผ่าคริสเตียน ตำนานของพวกเขาซึ่งจะบรรยายใน

บทที่ 1 นั้นมีความคล้ายคลึงกับพระคริสธรรมคัมภีร์ฉบับเดิมเป็นอย่างน่าประหลาดใจ ชาวกะ เหรี่ยงมากมายมีความเชื่อคริสเตียนที่มั่นคง และผู้นำของชาวกะเหรี่ยงก็เป็นคริสเตียน อย่างไร ก็ตาม ไม่ใช่คนทั้งเผ่าที่เป็นคริสเตียน จากการประมาณมีเพียง 40% ที่เป็นคริสเตียน ประชาชน ส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ หรือนับถือผี

แต่ทว่า ชาวกะเหรี่ยงที่เป็นคริสเตียนถูกกดขี่ข่มเหงรุนแรงมากที่สุด SPDC เล็งพวกเขา เป็นเป้าหมายกลุ่มแรก ในยามที่กองทหารพม่าเข้าโจมตีหมู่บ้าน พวกเขาจะถามชาวบ้านว่านับ ถือศาสนาอะไร ในการโจมตีศูนย์ผู้อพยพห้วยกระโหลก ในชายแดนประเทศไทย ในปี 1998 โบสถ์แบ๊พติสเป็นหนึ่งในตึกแรกๆ ที่ถูกเผา ส่วนวัดและบ้านเรือนรอบๆ วัดไม่ได้ถูกแตะต้อง

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่หนังสือเล่มนี้ถูกเขียนขึ้นในมุมมองของคริสเตียน เป็นส่ิงสำคัญที่

เราจะต้องเข้าใจว่ามันไม่ใช่สงครามศาสนา มันเป็นสงครามทางการเมืองที่ใช้ศาสนาเข้ามาเป็น

เครื่องมือในการสร้างความแตกแยก ในขณะที่รัฐบาลทหารใช้ศาสนาพุทธและชาวพุทธเป็นเครื่อง มือในการกดขี่ข่มเหงศาสนาอื่นๆ โดยเฉพาะคริสเตียนในกะเหรี่ยง กะเหรี่ยงนี ชิน และคะฉิ่น แต่ ชาวพุทธส่วนใหญ่ต้องการอยู่อย่างสันติ พวกเขาเองก็ต่อสู้เพื่อความยุติธรรม และทนทุกข์ภายใต้ การปกครองเผด็จการทหารเช่นเดียวกัน ชาวพุทธในรัฐฉานและชาวมุสลิมในโรฮิงยะก็ถูกกดขี่ข่ม เหงเช่นเดียวกัน อดีตประธานาธิบดีรัฐกะเหรี่ยง นายพลโบ มยะ ได้กล่าวว่า “นี่ไม่ใช่สงคราม ระหว่างคริสเตียนกับชาวพุทธ แต่มันเป็นสงครามระหว่างคนเบอรมันกับคนกะเหรี่ยง พวกเขาใช้ ศาสนาเข้ามาสร้างความแตกแยก พวกเขาเกลียดทุกคนไม่ใช่แค่คริสเตียนเท่านั้น พวกเขาไม่ได้ ฆ่าแค่คริสเตียน แต่ฆ่าชาวพุทธด้วย แต่พวกเขาเล็งมาที่คริสเตียนก่อน”

ดังนั้น ผมจึงปรารถนาที่จะเน้นย้ำว่า ในขณะที่ผมบรรยายเหตุการณ์ที่คริสเตียนถูกโจมตี โดยทหารชาวพุทธ ซึ่งอาชญากรรมการกระทำดังกล่าวเป็นส่ิงที่ผมและชาวกะเหรี่ยงเกลียดชัง แต่เรามิได้เกลียดชาวพุทธ พระเยซูสอนเราว่าให้เรารักเพื่อนบ้านเหมือนตัวเราเอง เกลียดความ บาป แต่ให้รักคนบาป ดังนั้นในขณะที่หนังสือเล่มนี้มีการเขียนแบบคริสเตียน แต่ไม่ใช่การต่อต้าน ศาสนาพุทธ ผมเองอยากจะให้การสรรเสริญแก่ชาวพุทธมากมายในพม่าที่ร่วมอยู่ในการต่อสู้เพื่อ ความยุติธรรมโดยเฉพาะนาง ออง ซาน ซู จี ผู้เป็นแรงบันดาลใจและตัวอย่างให้กับผม

ในใจกลางของการต่อสู้นี้ มันเป็นเรื่องของสงครามฝ่ายจิตวิญญาณ มันเป็นการต่อสู้ ระหว่างส่ิงที่ผิดกับสิ่งที่ถูกต้อง ระหว่างความดีกับความชั่ว การกดขี่ข่มเหงเช่นนี้ มันไม่ใช่แค่ เหตุผลทางการเมือง การจำกัด อิสระภาพทางการพูด การนับถือศาสนา การกระทำของรัฐบาล เป็นการกระทำที่โหดร้ายป่าเถื่อนและต่ำช้าเลวทราม มันเป็นการกระทำของรัฐบาลเผด็จการผู้ที่ไม่ มีความรู้เในรื่องของพระเจ้าและไม่คำนึงถึงพระเจ้า หรือแม้แต่คุณความดี พวกเขาบูชาอำนาจและ พยายามที่จะยึดมันไว้ทุกวิถีทาง การกระทำของรัฐบาลเผด็จการทหารนั้นคือการฆ่าล้างเผ่าพันธ์

นอกจากนั้น ในความขัดแย้งนี้ มันมีการเกี่ยวพันลึกกับเรื่องของวิญญาณชั่ว นายเน วิน ผู้ นำรัฐประหารในปี1962 และเป็นผู้ก่อตั้ง The Burmese Socialist Programme Party (BSPP) และมีแนวความคิดเป็นที่รู้จักกันว่า “หนทางของพม่าสู่สังคมนิยม” นายเน วิน เป็นผู้ที่มี ความเชื่องมงายทางด้านไสยศาสตร์เป็นอย่างมาก และได้เข้าไปเกี่ยวพันกับไสยศาสตร์ดำ ส่ิงลี้ลับ และโหราศาสตร์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการนำไปสู่นโยบายของประเทศที่เห็นแก่ตัวและทำลายล้าง มีผู้ ทำนายให้นายเน วินว่าหมายเลขเก้าเป็นเลขนำโชคของเขา ดังนั้นเขาจึงประ กาศยกเลิกการใช้ ธนบัตรที่หารด้วยเลขเก้าไม่ได้ และออกธนบัตรที่หารด้วยเลขเก้าลงตัวออกมา เช่น แบงค์ 45 และ 90 เพียงชั่วข้ามคืน ประชาชนคนธรรมดาได้สูญเสียเงินสะสมที่เก็บมานานนับปี

นายเนวินวางตัวเป็นผู้เคร่งทางศาสนา และเห็นความสนุกสนานเป็นความบาป จึงสั่งปิด การเต้นลีลาศและการแข่งม้า และมีการให้ความเห็นแบบอนุรักษ์นิยมเกี่ยวกับผู้หญิง แต่นายเน วิน เอง ได้แต่งงานถึงเจ็ดครั้งและเป็นนักพนันตัวยง มีข่าวว่าที่เขาสั่งหยุดการแข่งม้า เนื่องจากถูกเจ้า มือรับพนันม้าโกงที่แอสคอท ในปี 1984 หนังสือแมกกาซีนThe Far Eastern Economic Review ได้รายงานว่า เครื่องบินเจ๊ทส่วนตัวที่นายเน วิน ใช้บินไปที่คลินิกสุขภาพใน สวิสเซอร์ แลนด์ได้มาล่าช้ากว่ากำหนด เนื่องจากทับทรวงหยก และพลอยต่างๆ ที่นำขึ้นเครื่องได้ถูกจัดเรียง ไม่ถูกต้องจึงต้องมีการจัดเรียงใหม่ อีกสามปีต่อมา พม่าได้พยายามขอสถานะภาพของประเทศ ด้อยพัฒนาที่สุด เพื่อที่จะได้รับการบรรเทาหนี้จากต่างประเทศ

หาร ยางเว ผู้เป็นคริสเตียนที่เข้มแข็ง และเป็นลูกชายของประธานาธิบดีคนแรกของพม่า นาย เสา ชุย เธค ได้กล่าวในที่ประชุมวันอธิษฐานสากลเพื่อประเทศพม่าในลอนดอนว่า “ ภายใต้ การนำของนายเน วิน ได้นำพาประเทศไปสู่ “ความมืดทางด้านจิตวิญญาณ และ เราต้องการกำลัง ของพระเจ้าที่จะโค่นส่ิงนั้นลง”

ขณะที่หนังสือเล่มนี้เขียนเกี่ยวกับชาวกะเหรี่ยง และยกย่องถึงความกล้าหาญที่พวกเขามีใน ท่ามกลางความทุกข์ยากลำบาก แต่ไม่ใช่การประกาศเกียรติคุณให้กับชาวกะเหรี่ยง แม้จะมีคน หลายๆ คน โดยเฉพาะทหารอังกฤษที่ร่วมรบกับชาวกะเหรี่ยงในสงครามโลกครั้งที่สอง ที่มองเห็น ชาวกะเหรี่ยงแต่ในแง่ดี แม้ว่าชาวกะเหรี่ยงมากมายจะเป็นคนที่มีเมตตากรุณา สุภาพอ่อนโยน มีน้ำ ใจงาม ต้อนรับขับสู้ และซื่อสัตย์ แต่จริงๆ แล้วพวกเขาก็ยังเป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดา เช่นเดียวกับ คนอื่นๆ ที่ เคยทำผิดพลาด พวกเขาไม่สมบูรณ์แบบ พวกเขาเป็นคนธรรมดาที่พยายามอย่างดีที่ สุดที่จะต่อสู้เพื่อความยุติธรรม ที่จะรักษาบ้านเกิดเมืองนอน ที่จะแสวงหาการปกครองตนเอง และที่จะยึดความเชื่อในพระ เจ้าเอาไว้ พวกเขาทำสิ่งเหล่านี้อย่างสง่างาม ผมชื่นชมและเคารพ พวกเขาจากใจ แต่ผมก็ทราบด้วยว่าพวกเขาก็มีการทำผิดพลาดเช่นเดียวกับมนุษย์ทั่วไป พวกเขา ปล่อยให้มีการแตกแยกในระหว่างเผ่าต่างๆ หลายครั้งหลายหน ซึ่งเป็นส่ิงที่ถ่วงรั้งพวกเขาไว้ มิชชันนารีคนหนึ่งที่ทำงานร่วมกับชาวกะเหรี่ยงได้บอกผมว่า คนกะเหรี่ยงได้กระทำการชั่วร้ายกับ คนกะเหรี่ยงกันเอง หนังสือเล่มนี้ไม่ได้มีความพยายามที่จะปิดบังเรื่องดังกล่าว แม้ว่าความอยุติ ธรรม การทุจริต ความโหดเหี้ยมทารุณส่วนใหญ่จะมีมาจากรัฐบาลเผด็จการทหารอย่างมิต้องสงสัย

ผมได้ไปที่ชายแดนไทย – พม่าหกครั้ง และได้ใช้เวลากับผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงและกะเหรี่ยงนี

ที่ค่ายอพยพในประเทศไทย และผมก็ได้ข้ามไปยังประเทศพม่าหลายๆ ครั้ง เพื่อเยี่ยมผู้พลัดถิ่นใน

รัฐกะเหรี่ยงและรัฐฉาน ผมได้ข้ามแม่น้ำเมย เดินเข้าไปในป่า นอนในกระท่อมไม้ไผ่กับหมู่ทหาร ฝ่ายต่อต้าน ผมได้นำยารักษาโรค ข้าว กาแฟ เทียน เสื้อแจ็คเก็ตกันน้ำไปให้ทหารกะเหรี่ยง ทุกครั้งที่ผมข้ามไปพม่า ผมไปอย่างผิดกฎหมาย ผมไปกับกลุ่มต่อต้าน แต่ในความเห็นของผม มันไม่ใช่ผมที่ทำผิดกฎหมาย ผู้ที่ทำผิดกฎหมายคือ SPDC ในปี1990 รัฐบาลเผด็จการได้จัดให้ มีการเลือกตั้งและพรรค National League Democracy ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น แม้กระนั้น SPDC ก็ยังไม่ยอมลงจากอำนาจ รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลที่ผิดกฎหมาย ดังนั้น เพราะผมไม่เชื่อว่า กฎหมายของรัฐบาลนี้เป็นกฎหมายที่มาจากพระเจ้า และผมเชื่อว่าพระเจ้าได้ทรงเรียกเราให้ยื่น มือเข้าไปช่วยเหลือคนเหล่านั้นที่กำลังถูกกดขี่ข่มเหงและทนทุกข์ทรมาณอยู่ โดยไม่คำนึงถึงพรม แดนที่กั้นขวาง ผมจึงไม่ลังเลเลยที่จะข้ามพรมแดนไป ผมข้ามประเทศโดยปราศจากหนังสือเดิน ทางหรือวีซ่า แต่พระวิญญาณบริสุทธิ์คือวีซ่าของผม

บางคนอาจจะกล่าวว่าผมลำเอียง และพวกเขาก็อาจจะพูดถูก แต่ความลำเอียงของผมไม่

ได้เข้าข้างชาวกะเหรี่ยง ถึงแม้พวกเขาหลายๆ คนจะกลายมาเป็นเพื่อนผม แต่ผมอยู่ข้างความยุติ ธรรม อิสระภาพ และประชาธิปไตย ผมอยู่คนละฝั่งกับความอยุติธรรมและความโหดเหี้ยมทารุณ

และด้วยเหตุผลดังกล่าว ผมจึงได้เขียนหนังสือเล่มนี้ ซึ่งไม่ได้เน้นในเชิงประวัติศาสตร์หรืออัดแน่น ไปด้วยความรู้ทางด้านมนุษยวิทยา แต่ผมเขียนเพื่อที่จะให้พวกเราทำอะไรบางอย่าง ประชาชนใน ประเทศพม่าโดยเฉพาะชาวกะเหรี่ยงได้ทนทุกข์ทรมาณมานานเกินพอแล้ว และมันก็นานเกินพอแล้ว ที่ทั้งโลกนั่งดูอยู่เฉยๆ ถึงเวลาแล้วที่คนธรรมดา คริสเตียนทั่วไปในโลกเสรีทั้งในอังกฤษ ทั่วทั้งยุโรป สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา จะเดินบนเส้นทางที่พวกเขาเคยทำมาแล้วในการโค่นล้ม นโยบายแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ ถึงเวลาแล้วที่เราจะยืนขึ้นและอุธรณ์กับรัฐบาลของเราให้ทำ อะไรสักอย่างเพื่อที่จะหยุดการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ในพม่า คริสเตียนมักจะกล่าวว่าการล่มสลายของ ม่านเหล็กแห่งจักรวรรดฺิ์รัสเซียนั้นมาจากการอธิษฐานอันยาวนานนับปี ถ้าเช่นนั้น นี่ก็ถึงเวลาแล้วที่ เราจะอธิษฐานเผื่อประเทศพม่าทุกๆ วัน

ทอมัส เอ เคมพิส ได้เขียนในหนังสือ The Imitation of Christ ว่า“ผู้ที่เต็มไปด้วยความ รักก็ตื่นตัวอยู่เสมอเมื่อมีงานเข้ามา เขาจะตื่นจากการหลับในยามที่มีผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ผู้ที่เต็มไปด้วยความรัก มีใจที่ร้อนรน ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น พวกเขาเหมือนกับคบเพลิงที่ถูกจุดไว้ คนเช่นนั้นทำทุกอย่างเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมาย ทำให้แผนงานเกิดผล แต่ผู้ที่ไม่มีความรักก็อ่อน แรงและหลับไหลขณะทำงาน” พวกเราที่อยู่ในโลกเสรี มีความรับผิดชอบที่จะเป็นเสียงให้กับคน เหล่านั้นที่ไม่สามารถพูดเพื่อตัวเองได้ เราไม่สามารถที่จะอ่อนแรงและหลับไหลขณะทำงาน คำพูด ของนาย วิลเลียม วิลเบอตฟอซ ที่ใช้ในการเริ่มต้นบัญญัติกฎหมายเพื่อที่หยุดการค้าทาสควรจะ เป็นสิ่งเตือนใจเราให้ เราพิจรณาถึงเรื่องราวของการถูกข่มเหงในโลกทุกวันนี้ “เราไม่สามารถจะ แก้ตัวว่าเราไม่รู้เรืื่อง เราไม่สามารถหันหน้าหนี” ผมเชื่อว่าพระเจ้าเรียกเราให้ตื่น ทั้งในแต่ละบุคคล และหมู่คณะ ทั้งทางด้านการลงมือปฎิบัติและทางด้านจิตวิญญาน จนกว่าวันที่ความยุติธรรมจะมา ถึง และอิสระภาพจะมาสู่ประเทศพม่า พระเจ้าทรงเรียกเราให้ร้อนรนเหมือนคบเพลิงที่ลุกโชติช่วง

เบเนดิกท์ โรเจอร์ส